‘ฟาร์มผึ้งในเมือง’ วิธีการช่วยเหลือแมลง สิ่งแวดล้อม และแหล่งอาหารของโลก

แมลงผสมเกสรที่อยู่กันเป็นกลุ่มทั้งหลาย อาทิ ผึ้ง ผีเสื้อ และกลุ่มแมลงอื่น ๆ กำลังตกอยู่ในภาวะถูกคุกคามจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่หรือการทำลายล้างทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับโลกในเวลานี้ โดยภาวะที่ว่ามีที่มาจากสถานการณ์อย่างเช่น เมื่อเราเปลี่ยนป่าให้เป็นไร่ข้าวโพด แมลงผสมเกสรพื้นเมืองแทบทุกตัวในป่าผืนนั้นก็จะสูญหายไปในไม่ช้า

วิลเลียม ฮาห์น ศาสตราจารย์คุณวุฒิด้านชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ในกรุงวอชิงตัน กล่าวด้วยเหตุผลข้างต้น การทำฟาร์มผึ้งพันธุ์ตะวันตก (Western honeybee) ที่ถูกนับว่าเป็นสัตว์ที่มีเกษตรกรนำมาเลี้ยงอยู่บ้างมักจะถูกเลี้ยงในกล่อง เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยรักษาให้จำนวนประชากรผึ้งของโลกไม่ลดลงเหมือนประชากรผึ้งที่ใช้ชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ

ศาสตราจารย์ฮาห์น เล่าย้อนให้ฟังถึงความสนใจของเขาในการเลี้ยงผึ้ง ว่า “แรกเริ่มมีเพื่อนร่วมงานที่สนใจการเลี้ยงผึ้งในเมือง (urban beekeeping) เลยได้ทดลองเลี้ยงผึ้งหนึ่งรัง แต่ปรากฏว่า ในปีแรกประสบความล้มเหลว ก่อนที่จะเลี้ยงได้สำเร็จในช่วงไม่กี่ปีหลังจากนั้น”

ทั้งนี้ ผึ้งพันธุ์ตะวันตก คือ ผึ้งน้ำหวาน (Honeybees) ที่คาดว่า น่าจะถูกนำเข้ามายังสหรัฐฯ จากทวีปยุโรปเป็นครั้งแรกในช่วงราวปี 1622

William Hahn ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านชีววิทยา มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์

ศาสตราจารย์ฮาห์น อธิบายว่า กล่องเลี้ยงผึ้งที่ใช้นั้นประกอบด้วยกล่องทึบที่มีตะแกรงมุ้งลวดวางอยู่ข้างใต้ เพื่อใช้ระบายอากาศ และป้องกันไม่ให้น้ำผึ้งถูกขโมยไป และในบางช่วงของปีที่ผึ้งไม่สามารถหาน้ำหวานจากเกสรดอกไม้มาเก็บไว้ในรังได้ พวกมันก็จะไปขโมยน้ำหวานจากนิคมผึ้งอื่น ๆ ที่อ่อนแอกว่ามาเก็บไว้ในรังแบบกล่องนี้ที่มีการปกป้องคุ้มครองได้ดีกว่าแทน

ผึ้งโพลิสและน้ำผึ้ง
รังผึ้งที่กลายเป็นกล่องของวิลเลียม ฮาห์น

สำหรับในสหรัฐฯ การที่ประชากรผึ้งทำการผสมเกสร ถือว่ามีประโยชน์มากกว่าเพียงแค่การผลิตน้ำผึ้งออกมาในส่วนของโครงสร้างภายในรังผึ้งแบบกล่องนี้ จะมีของเหลวลักษณะเหนียว ที่เรียกกันว่า กาวผึ้ง (propolis) ซึ่งเป็นยางไม้ที่ผึ้งเก็บมาเพื่อใช้สร้างตัวรังสำหรับกักเก็บน้ำผึ้ง ส่วนน้ำผึ้งที่ได้จากหลอดรวงที่ปิดแล้วจะเรียกว่า “capped honey” เป็นส่วนที่คนเราสามารถรับประทานได้ด้วย

ในส่วนวรรณะของผึ้งภายในนิคมหนึ่ง ๆ นั้นจะประกอบด้วย ผึ้งงาน ผึ้งตัวผู้ และผึ้งนางพญา โดยผึ้งตัวผู้จะมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าผึ้งงาน และพวกมันมีหน้าที่เพียงอย่างเดียว คือ การผสมพันธุ์กับผึ้งนางพญา และเมื่อทำหน้าที่นั้นเสร็จสมบูรณ์ ผึ้งตัวผู้จะตายลงทันที

ศาสตราจารย์ฮาห์น กล่าวว่า จำนวนของผึ้งแต่ละวรรณะจะแตกต่างกันออกไป โดยในแต่ละนิคมผึ้งมักมีผึ้งนางพญาเพียงตัวเดียว มีผึ้งงานจำนวนมากกว่า 40,000 ตัว ส่วนจำนวนของผึ้งตัวผู้จะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของปี โดยภายในรังอาจจะมีหลายพันตัวหรืออาจจะไม่มีสักตัว ก็เป็นไปได้

ในภาวะที่ปกติ ผึ้งนางพญาที่มีความสมบูรณ์ จะทำการวางไข่และหลั่งสารฟีโรโมนเพื่อสื่อสารกับสมาชิกภายในรัง เมื่อผึ้งตัวอื่น ๆ รับรู้ได้ถึงความเป็นปกติ ก็จะทำหน้าที่ของตนต่อไป ซึ่งรวมถึงการปกป้องรังของตนเองจากผู้บุกรุกและศัตรูผึ้ง

ภายในรังผึ้ง

ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาท่านนี้ให้ความเห็นทิ้งท้ายว่า ในภาพรวมระดับโลกนั้น แมลงผสมเกสรที่อยู่กันเป็นกลุ่มนั้นกำลังเผชิญกับปัญหาจำนวนที่ลดลงอยู่จริง แต่ผึ้งพันธุ์ตะวันตกที่มีเกษตรกรเลี้ยงกันอยู่ทั่วไม่ได้รอดพ้นจากภัยคุกคามทั้งหมดเสียทีเดียว เพียงแต่ปัญหาต่าง ๆ นั้นเป็นเรื่องคล้าย ๆ กับการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทั่ว ๆ ไป เช่น ปัญหาจากและศัตรูที่ล่าผึ้งเป็นอาหาร รวมทั้ง เรื่องเชื้อโรค ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องจัดการให้ได้เท่านั้นเอง

  • ที่มา: วีโอเอ

Leave a Comment