“ปลัดเก่ง” ปลุกคนมหาดไทยในท้องถิ่นกล้าสื่อสารและแลกเปลี่ยนกับผู้บังคับบัญชา​ เพื่อนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ดีกว่า​ (Change​ for Good) พร้อมริเริ่มทำในสิ่งดี ๆ​


20/01/2566

พิมพ์

 


“ปลัดเก่ง” ปลุกคนมหาดไทยในท้องถิ่นกล้าสื่อสารและแลกเปลี่ยนกับผู้บังคับบัญชา​ เพื่อนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ดีกว่า​ (Change​ for Good) พร้อมริเริ่มทำในสิ่งดี ๆ​

“ปลัดเก่ง” ปลุกคนมหาดไทยในท้องถิ่นกล้าสื่อสารและแลกเปลี่ยนกับผู้บังคับบัญชา​ เพื่อนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ดีกว่า​ (Change​ for Good) พร้อมริเริ่มทำในสิ่งดี ๆ​ ให้ผู้บังคับบัญชาคล้อยตามให้บรรลุภารกิจการ “บำบัดทุกข์​ บำรุงสุข​”

เมื่อวันที่ 20​ มกราคม​ 2566 ที่ห้องประชุมพรหมวรราช ชั้น​ 4 ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี​ นายสุทธิพงษ์​ จุลเจริญ​ ปลัดกระทรวงมหาดไทย​ เป็นประธานการประชุมติดตามการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของกระทรวงมหาดไทย​ ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี​ โดยมี หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมในสังกัดกระทรวงมหาดไทย​ ได้แก่​ นายแมนรัตน์​ รัตนสุคนธ์​ อธิบดีกรมการปกครอง​ นายอรรษิษฐ์​ สัมพันธรัตน์​ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน​ นายขจร​ ศรีชวโนทัย​ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น​ นายวราพงษ์​ เกียรตินิยมรุ่ง รองอธิบดีกรมที่ดิน​ พระพิพัฒน์วชิโรภาส ดร.ศิริมาเมธ์วดี​ ศิรธนิตรา​ นายกเทศมนตรีเมืองพิบูลมังสาหาร​ ในฐานะที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย​ พร้อมด้วย ​นายชลธี ยังตรง​ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี​ นายสมเพชร​ สร้อยสระคู​ นางทรงลักษณ์​ วรภัย​ นายสมเจตน์​ เต็งมงคล​ และนายกำพล​ สิริรัตตนนท์​ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี​ หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัด​อุบลราชธานี ข้าราชการ​ และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง​ เข้าร่วมการประชุม

ในการนี้​ นายสุทธิพงษ์​ จุลเจริญ​ ปลัดกระทรวงมหาดไทย​ กล่าวว่า​ จากการรับฟังรายงานผลการขับเคลื่อนและติดตามนโยบายของรัฐบาล​ และภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย​ ทั้ง​ 11​ ข้อ​ ของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี​ อันประกอบไปด้วย​ (1) การขับเคลื่อนการดำเนินงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง​ (ศจพ.)​ (2) โครงการอำเภอบำบัดทุกข์​ บำรุงสุข​ แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (3)​ โครงการหนึ่ง ตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable​ Village) (4)​ การขับเคลื่อนการน้อมนำศาสตร์พระราชามาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก​ หนอง​ นา​ โมเดล (5)​ การแก้ไขปัญหายาเสพติด (6)​ การบริหารจัดการขยะ (7)​ การแก้ไขปัญหาเด็ก เพื่อพัฒนาการสมวัย เจริญเติบโตดี ไอคิวดี (8)​ โครงการเฉลิมพระเกียรติ (9)​ การขับเคลื่อนการดำเนินงานวันดินโลก (10)​ โครงการ “บ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง” (11)​ การขับเคลื่อนบทบาทในการเกื้อหนุนระหว่างวัด และ ชุมชน​ให้มีความสุขอย่างยั่งยืน จังหวัดอุบลราชธานี​ กิจกรรมถนนสายวัฒนธรรม เครือข่ายบวรคุณธรรม​ ถือได้ว่ามีผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพึงพอใจอย่างยิ่ง​ อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของทางจังหวัดในการแก้ไขปัญหาต่างๆ​ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ​ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ตนอยากจะฝากเอาไว้​ นั่นก็คือ​ การทำให้สิ่งที่ดีอยู่แล้วดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเกิดกลายเป็นความยั่งยืน​ พร้อมกับร่วมกันขยายผลให้สิ่งที่ดีเหล่านี้ไปสู่ผู้ที่ยังไม่รู้​ยังไม่ทราบ​ด้วย​ เพื่อให้เกิดการต่อยอดสิ่งดี ๆ​ ไปสู่วงกว้างต่อไป​

ปลัดกระทรวงมหาดไทย​ กล่าวเพิ่มเติมว่า​ จังหวัดอุบลราชธานีถือเป็นมหานครแห่งโคก​ หนอง​ ​นา​ ตนจึงอยากเห็นจังหวัดแห่งนี้เป็นอรุณแรกแห่งสุวรรณภูมิ​ที่มีความพร้อมทั้งในเรื่องของคุณภาพและปริมาณ​ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นเมืองแห่งการขับเคลื่อน​การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)​ ขององค์การสหประชาชาติ​ ทั้ง​ 17​ ข้อ​ ให้เกิดผลขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต​ พร้อมกันนี้ขอให้ทางจังหวัดหมั่นลงพื้นที่เพื่อ​ติดตาม​ ตรวจเยี่ยม​ ให้กำลังใจ​ และยุยงส่งเสริม​ให้คนในพื้นที่เกิดความกระตือรือร้นอยากที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน​ อันถือเป็นกุศโลบายสำคัญในการขับเคลื่อนงานมหาดไทยสู่ท้องที่ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ​ โดยขอเน้นย้ำให้ทีมงานของผู้ว่าราชการจังหวัด​ และ​ 7​ ภาคีเครือข่ายช่วยกันทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพราะ​การจะขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน​​ใ​ห้เกิดประสิทธิผลได้นั้น​ ทุกฝ่ายต้องช่วยกันอย่างสมัครสมานสามัคคี​ โดยให้มีการบูรณาการคน​ บูรณาการการทำงานร่วมกัน​อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งที่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ดำเนินการมานี้ถือว่าเป็นการตอบสนองนโยบายตามที่วางไว้แล้ว​ เพียงแต่อยากให้มีการสร้างความยั่งยืนในระยะยาวเพิ่มเติมด้วย โดยความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ​ ซึ่งควรเป็นเรื่องของความสมัครใจ​ ไม่ใช่การบีบบังคับแต่อย่างใด​ และควรต้องมีกลุ่มคนที่มีความเสียสละและจิตอาสาลงมือทำเป็นแบบอย่างเสียก่อน​ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนมหาดไทยของเรา​ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลความยั่งยืนนั้นย่อมอยู่ที่หัวใจเป็นสำคัญ​ นั่นเอง

นายสุทธิพงษ์​ กล่าวทิ้งท้ายว่า​ ในฐานะที่ทุกท่านเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว​ อย่าลืมที่จะสะกดจิตตัวเองว่าตนนั้นมีหน้าที่ทำงานเพื่อชาติ​ พระศาสนา​ และสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงมีพันธกิจสำคัญในการบำบัดทุกข์​ บำรุงสุข​ เพื่อพี่น้องประชาชนตลอดอายุราชการ​ ฉะนั้น​ จงกล้าที่จะสื่อสารและแลกเปลี่ยนกับผู้บังคัญชา​ เพื่อนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ดีกว่า​ (Change​ for Good) และกล้าที่จะทำความดี​ นอกจากนี้เหนือสิ่งอื่นใดต้องมี Passion ในการทำงาน​ พร้อมกับมีความตื่นตัวคิดริเริ่มสิ่งดี ๆ​ ให้ผู้บังคับบัญชาเห็นคล้อยตาม​ และทำตามที่เรานำเสนอ​ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นพี่น้องประชาชนต้องมีความสุขอย่างยั่งยืน

 

แหล่งที่มา: ข่าวกระทรวงด้านความมั่นคง

Leave a Comment