มหาดไทยลงพื้นที่นิเทศติดตามการขับเคลื่อนโครงการ “อำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน” และ “หนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)” ในพื้นที่ อ.บ่อทอง


17/07/2566

พิมพ์

 


มหาดไทยลงพื้นที่นิเทศติดตามการขับเคลื่อนโครงการ “อำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน” และ “หนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)” ในพื้นที่ อ.บ่อทอง

กระทรวงมหาดไทยลงพื้นที่นิเทศติดตามการขับเคลื่อนโครงการ “อำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน” และ “หนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)” ในพื้นที่อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี เน้นย้ำ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

กระทรวงมหาดไทยลงพื้นที่นิเทศติดตามการขับเคลื่อนโครงการ “อำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน” และ “หนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)” ในพื้นที่อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี เน้นย้ำ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีอย่างยั่งยืน

วันนี้ (17 ก.ค. 66) นายประชา เตรัตน์ หัวหน้าคณะทำงานนิเทศโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน และโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) กระทรวงมหาดไทย เผยว่า คณะทำงานนิเทศโครงการและติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน และโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Vilage) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้ลงพื้นที่นิเทศและรับฟังการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการและติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน และโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ของอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี โดยมี นายชัยพร แพภิรมย์รัตน์ ปลัดจังหวัดชลบุรี หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด นายอำเภอบ่อทอง หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบลวัดสุวรรณ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และพี่น้องประชาชน ชาวตำบลวัดสุวรรณ ร่วมรับการตรวจติดตาม

นายประชา เตรัตน์ หัวหน้าคณะทำงานนิเทศโครงการฯ กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนงานเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุข พี่น้องประชาชน โดยได้กำหนดแนวทางในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับพี่น้องประชาชนคนไทย ด้วยการน้อมนำแนวพระดำริ “หมู่บ้านยั่งยืน” ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และประกาศเจตนารมณ์ของผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดที่ได้ร่วมประกาศกับผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย “76 จังหวัด 76 คำมั่นสัญญา เพื่อการพัฒนา เพื่อความเท่าเทียม เพื่อความยั่งยืน “โลกนี้เพื่อเรา”” ร่วมกับทุกจังหวัดขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง และน้อมนำแนวพระราชดำริด้านการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” และ “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” แนวทางการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน และการบริหารจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง (ครัวเรือน) มีการแบ่งพื้นที่เป็นหย่อมบ้าน กลุ่มบ้าน เพื่อดูแลสมาชิกในหมู่บ้าน รวมทั้งการส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ถ่ายทอดส่งต่อให้กับรุ่นลูกรุ่นหลานเพื่อให้เกิดความรู้รักสามัคคี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โดยมี “นายอำเภอ” เป็นผู้นำทีมอำเภอ อันประกอบด้วย ทีมที่เป็นทางการ คือ ข้าราชการ นำโดยปลัดอำเภอประจำตำบล บุคลากรของทุกส่วนราชการในพื้นที่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ และทีมจิตอาสา อันประกอบด้วย ภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคี คือ ภาคราชการ ภาคผู้นำศาสนา ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคสื่อสารมวลชน ภายใต้ชื่อ “โครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน” อันเป็นการตอกย้ำถึงบทบาทของนายอำเภอ ในฐานะผู้นำการบูรณาการของพื้นที่ เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับพี่น้องประชาชน โดยมีเป้าหมายคือ “ประชาชนทุกคนสามารถพึ่งพาตนเองได้ เป็นโอกาสที่ต่อยอดไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพ ให้แก่คนในชุมชน เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคงอย่างยั่งยืน”

นายชัยพร แพภิรมย์รัตน์ ปลัดจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า จังหวัดชลบุรี ภายใต้การนำของนายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้เน้นย้ำในการประชุมกรมการจังหวัด และการประชุมหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยและการประชุมนายอำเภอ ให้หัวหน้าส่วนราชการและนายอำเภอทุกอำเภอ ได้ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีมด้วยการบูรณาการภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคีเครือข่าย อันประกอบด้วย ภาคราชการ ภาคผู้นำศาสนา ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคสื่อสารมวลชน รวมทั้งหมั่นลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยม ให้กำลังใจ และติดตามการขับเคลื่อนงานบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับพี่น้องประชาชน ผู้ประกอบการ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน มีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ทำให้บทบาทของฝ่ายปกครองเป็นที่พึ่ง เป็นผู้รับใช้พี่น้องประชาชน เข้าไปอยู่ในหัวใจของพี่น้องประชาชน พร้อมทั้งน้อมนำแนวทางพระดำริ “หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)” เพื่อทำให้ประชาชนในหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

ด้านนายอิทธิพงศ์ จักษ์ตรีมงคล นายอำเภอบ่อทอง กล่าวว่า พื้นที่อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี ถือเป็นอำเภอต้นแบบในการขับเคลื่อนโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน และโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จ โดยการลงพื้นที่นิเทศติดตามการขับเคลื่อนงานในวันนี้ อำเภอบ่อทองได้นำคณะทำงานลงพื้นที่ศึกษา ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านทุ่งน้อย หมู่ 4 พาเยี่ยมชมฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ ภายในศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านทุ่งน้อย ประกอบด้วย จุดเรียนรู้การเลี้ยงกบ จุดเรียนรู้การปลูกผักปลอดภัย จุดเรียนรู้การทำผ้าบาติก และจุดเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก นอกจากนี้ยังได้เยี่ยมชมบ้านเรือนประชาชนที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการพึ่งพาตนเอง การน้อมนำพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ดำเนินโครงการบ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง ซอยนี้มีรัก ปลูกผักแบ่งปัน ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน ที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารและความรักความสามัคคีในชุมชม รวมไปถังการบริหารจัดการที่ดิน การจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน และการบริหารจัดการขยะตั้งแต่ครัวเรือนครัวเรือนต้นทาง ช่วยบำรุงรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นกว่าเดิม

นายประชา เตรัตน์ หัวหน้าคณะทำงานนิเทศ โครงการ ฯ กล่าวภายหลังการลงพื้นที่นิเทศติดตามการขับเคลื่อนงาน ว่า ขอขอบคุณและขอให้กำลังใจทีมงานจังหวัด ทีมอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ที่ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ช่วยกันทำงาน “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้กับพี่น้องประชาชนด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ และขอให้ทุกคนศึกษาศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้ถ่องแท้ เพราะปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงการสำเร็จ คือ ต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้และสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนทุกตำบลหมู่บ้าน โดยใช้กำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ขับเคลื่อน และงานจะสำเร็จได้นั้นจะต้องได้รับความร่วมมือของชุมชน ความรักความสามัคคีของคนในชุมชน บูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคีเครือข่าย ร่วมกันขับเคลื่อนเป้าหมายให้เกิดเป็นรูปธรรม และทำให้คุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนดีขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป

#กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข #MOI #ChangeforGood #หมู่บ้านยั่งยืน

 

แหล่งที่มา: ข่าวกระทรวงด้านความมั่นคง

Leave a Comment